[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย :: www.msdho.com
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
ตรวจสอบสิทธิ์
Untitled Document
e-Learning
e-Learning
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 17 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน

[msdho]
ระบบสารสนเทศ
Untitled Document
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
พยากรณ์อากาศ แม่สาย
+31
°
C
+31°
+22°
แม่สาย
, 22
+29° +22°
+25° +23°
+25° +22°
+27° +23°
+27° +22°
+24° +23°
ดูพยากรณ์ใน 7 วัน
ค้นหาจาก google
เครือข่ายบริการสุขภาพ
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 23/ม.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 3 IP
ขณะนี้
3 คน
สถิติวันนี้
214 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
172 คน
สถิติเดือนนี้
3922 คน
สถิติปีนี้
16106 คน
สถิติทั้งหมด
191855 คน
IP ของท่านคือ 18.223.21.5
(Show/hide IP)

  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : รู้จัก “โรคมือเท้าปาก” ให้มากขึ้น
โดย : admin
เข้าชม : 93
อาทิตย์ ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนชื้น ซึ่งเอื้อต่อการฟักตัวของเชื้อโรคระบาดต่างๆมากมาย โดยเฉพาะในระยะนี้ เริ่มมีเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปากมาหาหมอกันบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันบุตรหลานของเราจากโรคนี้ได้อย่างทันท่วงที เรารีบมาทำความรู้จักโรคนี้กันก่อน
"โรคมือเท้าปาก" เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ Enterovirus หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือ Coxsackie virus A16 และ Enterovirus 71 พบบ่อยในเด็ก ทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สำหรับประเทศไทยพบการระบาด ตลอดทั้งปี แต่จะมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น
โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการ ไม่รุนแรง มีลักษณะเฉพาะคือ มีตุ่มน้ำใสขอบแดงขึ้นที่บริเวณปาก มือ และเท้า
การแพร่ติดต่อของโรคส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัสทางการหายใจ ไอ จาม รดกัน การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย 
โรคนี้แพร่ติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย ในช่วงแรกที่เริ่มมีอาการป่วย นอกจากนี้ หลังจากเด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน ก็ยังสามารถพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติด ต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าในระยะแรกของโรค
อาการของโรคหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะเจ็บปากจนไม่อยากรับประทานอาหาร เนื่อง จากมีตุ่มแดงเจ็บที่ลิ้น เหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม และที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส บริเวณ ฐานของตุ่มจะอักเสบและแดง
นอกจากนี้สามารถพบอาการ ที่ระบบอื่นได้อีก อาทิ อาการทางระบบ ประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว และคลื่นไส้อาเจียน, อาการทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ, อาการทางหัวใจ พบไม่บ่อยแต่มีความรุนแรง เนื่องจากทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ สิ่งสำคัญที่คนใกล้ชิดผู้ป่วยจะต้องทำคือ ควรเช็ดตัวเพื่อช่วยลดไข้เป็นระยะ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ ดื่มน้ำสะอาด น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวด
แม้โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สามารถป้องกันได้โดย 1.รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลาง 2.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ 3.สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ
4.ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย และ 5.เมื่อพบเด็กที่ป่วยหรือมีอาการของโรคนี้ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปรกติ
คนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการ หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารและดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าพบอาการดังกล่าวควรรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

 http://www.thaihealth.or.th/Content/32168-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%20%





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      ‘5 ตัวช่วย’ เลิกบุหรี่ได้ ก็เป็นสุข 12/ม.ค./2561
      5 เมนูฮิต กินบ่อยไม่ดีต่อสุขภาพ 12/ม.ค./2561
      สารกันบูดใน "ซอสพริก" 13/พ.ค./2560
      เปลี่ยนอาหารการกินสู้มะเร็ง 13/พ.ค./2560
      รู้จัก “โรคมือเท้าปาก” ให้มากขึ้น 19/ก.พ./2560