[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย :: www.msdho.com
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
ตรวจสอบสิทธิ์
Untitled Document
e-Learning
e-Learning
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 17 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน

[msdho]
ระบบสารสนเทศ
Untitled Document
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
e-Learning
พยากรณ์อากาศ แม่สาย
+31
°
C
+31°
+22°
แม่สาย
, 22
+29° +22°
+25° +23°
+25° +22°
+27° +23°
+27° +22°
+24° +23°
ดูพยากรณ์ใน 7 วัน
ค้นหาจาก google
เครือข่ายบริการสุขภาพ
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 23/ม.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 6 IP
ขณะนี้
6 คน
สถิติวันนี้
24 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
285 คน
สถิติเดือนนี้
4285 คน
สถิติปีนี้
16469 คน
สถิติทั้งหมด
192218 คน
IP ของท่านคือ 18.191.157.186
(Show/hide IP)

  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : 5 โรคที่มาพร้อมกับอากาศร้อนจัด
โดย : admin
เข้าชม : 80
เสาร์์ ที่ 14 เดือน มกราคม พ.ศ.2560 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ในช่วงที่อากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดูแลสุขภาพภายในก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้
วันนี้เราจึงมี 5 โรคที่มาพร้อมกับอากาศร้อน มานำเสนอ เพื่อให้คุณได้ทราบข้อมูล พร้อมวิธีรับมือป้องกันที่ถูกต้อง
1.ร้อนจัด ไมเกรนขึ้น
มีผลการวิจัยบอกว่า อากาศที่ร้อนขึ้นทุกๆ 5 องศาเซลเซียสจะทำให้ ไมเกรน กำเริบเพิ่มขึ้นถึง 7.5% เนื่องจากหลอดเลือดแดงในสมองเกิดการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติจนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ยิ่งทำงานในห้องแอร์แล้วออกไปเจออากาศร้อน ยิ่งทำให้อาการไมเกรนกำเริบมากยิ่งขึ้น
วิธีป้องกัน : หากจำเป็นต้องอยู่ในอากาศร้อน ลองดื่มน้ำเย็นไปด้วย จะช่วยคลายความร้อนและไม่ทำให้ปวดศีรษะ แต่ถ้าสามารถงีบหลับหรือนอนหลับตานิ่งๆ สักพักอาการก็จะดีขึ้นได้เอง
2. ร้อนจัด ขาดน้ำ
ในช่วงที่อากาศร้อนเหงื่อจะออกมากกว่าปกติ หากดื่มน้ำไม่พอก็อาจขาดน้ำและส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย โดยสามารถสังเกตอาการขาดน้ำได้จากปัสสาวะ หากมีสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นแสดงว่าคุณดื่มน้อย และร่างกายกำลังขาดน้ำ
วิธีป้องกัน : ดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 1.5-2 ลิตร โดยการจิบเรื่อยๆ ทั้งวัน ไม่ใช่ดื่มรวดเดียวให้ครบจำนวนลิตรเท่านั้น และที่สำคัญควรงดดื่มน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทันและป่วยได้ง่ายขึ้น
3. ร้อนจัด เป็นลม
ความร้อนเป็นสาเหตุให้เลือดไหลไปที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นและไหลไปรวมที่ขา จึงทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็ว เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้หน้ามืดเป็นลม แต่ไม่มีอันตรายอะไร ต่างจาก Heat Stroke ซึ่งเกิดจากการตากแดดนานๆ จนอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ทำให้ช็อก หน้ามืด วิงเวียน ระบบต่างๆ ภายในร่างกายไม่ทำงาน โดยก่อนหน้านี้อาการ Heat Stroke มักพบในชาวต่างชาติและนักกีฬา แต่เดี๋ยวนี้คนไทยเริ่มเป็นมากขึ้นแล้ว
วิธีป้องกัน : หลีกเลี่ยงการตากแดดจัดๆ นอนพักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ ที่สำคัญควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงหน้าร้อน เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายและร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
4. ร้อนแล้ว ท้องเสีย
อากาศร้อนๆ แบบนี้ เชื้อโรคต่างๆ จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในอาหารที่จะบูดเสียง่ายกว่าปกติ ซึ่งถ้ากินอาหารไม่สะอาด อาการท้องเสียก็จะตามมาได้ง่ายขึ้น นี่จึงเป็นอีกเรื่องที่เราควรใส่ใจเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน
วิธีป้องกัน : ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อลดการติดเชื้อ ไม่กินอาหารที่ตั้งทิ้งไว้นานๆ พยายามดื่มน้ำเปล่าไม่ใส่น้ำแข็ง เพราะจากการสำรวจพบว่าสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียมากที่สุดก็คือน้ำแข็ง
5. ร้อนจัด เป็นหวัด
ในช่วงที่อากาศร้อนจัดแบบนี้ อย่าพยายามคลายร้อนด้วยอะไรที่เย็นสุดขั้ว เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันจนทำให้เป็นหวัด เจ็บคอ หรือเป็นไข้ได้ง่ายๆ
วิธีป้องกัน : ดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หากอยากกินไอศกรีมก็ต้องค่อยๆ กินเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัว หากอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นก็ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น และอย่าออกไปตากแดดทันทีที่ออกจากห้อง แต่ควรหาที่ร่มเพื่อให้ร่างกายได้ปรับอุณหภูมิก่อนจะออกไปเผชิญกับความร้อน

 http://www.thaihealth.or.th/Content/30890-5%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88





5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 1 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      ‘5 ตัวช่วย’ เลิกบุหรี่ได้ ก็เป็นสุข 12/ม.ค./2561
      5 เมนูฮิต กินบ่อยไม่ดีต่อสุขภาพ 12/ม.ค./2561
      สารกันบูดใน "ซอสพริก" 13/พ.ค./2560
      เปลี่ยนอาหารการกินสู้มะเร็ง 13/พ.ค./2560
      รู้จัก “โรคมือเท้าปาก” ให้มากขึ้น 19/ก.พ./2560